สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เตือนเกษตรกรเฝ้าระวัง โรคเมษตอซัง

สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา...เตือนเกษตรกรเฝ้าระวัง"โรคเมาตอซัง"

***สาเหตุ
เกิดจากการสะสมของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) หรือแก๊สไข่เน่า ในดิน ที่เกิดจากการไถกลบฟางหรือย่อยสลายซากตอซังไม่สมบูรณ์

***ลักษณะอาการ
เริ่มพบอาการเมื่อข้าวอายุประมาณ 1 เดือน หรือระยะแตกกอ ต้นข้าวจะแสดงอาการคล้ายขาดธาตุไนโตรเจน ต้นแคระแกรน ใบซีดเหลืองจากใบล่างๆ มีอาการโรคใบจุดสีนํ้าตาล จะพบในขณะที่ขบวนการเน่าสลายของเศษซากพืชในนายังไม่สมบูรณ์ ทําให้เกิดสารพิษเป็นสารซัลไฟด์ไปทําลายรากข้าว จะเกิดอาการรากเน่าดํา รากจึงไม่สามารถดูดธาตุอาหารจากในดินได้ ต้นข้าวจึงแสดงอาการขาดธาตุอาหาร ในขณะเดียวกัน มักจะพบต้นข้าวสร้างรากใหม่ที่ระดับเหนือผิวดิน ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเกิดจากเกษตรกรทํานาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการพักนา และเกิดการหมักของตอซังระหว่างข้าวแตกกอ

***วิธีการป้องกันกำจัด
1. ระบายนํ้าเสียในแปลงออก ทิ้งให้ดินแห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้รากข้าวได้รับอากาศ หลังจากนั้นจึงนํานํ้าใหม่เข้าและหว่านปุ๋ย
2. หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรทิ้งระยะพักดินประมาณ 1 เดือน ไถพรวนแล้วควรทิ้งระยะให้ตอซังเกิดการหมักสลายตัวสมบูรณ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์
3. ไม่ควรให้ระดับนํ้าในนาสูงมากเกินไปและมีการไหลเวียนของนํ้าอยู่เสมอ

ที่มา : #กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
ขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่าน

ข่าว : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เผยแพร่โดย : กฤตยา ส.ปชส.อย.


image รูปภาพ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
แสดงความคิดเห็น
image
ความคิดเห็น