มาตรการป้องกันทุจริตภาษีมูลเพิ่ม (VAT) ป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น

มาตรการป้องกันทุจริตภาษีมูลเพิ่ม (VAT) ป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น
จากการดำเนินงานร่วมกันของกระทรวงการคลังร่วมกับ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมศุลกากร และกรมสรรพากรโดยมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คกก. ป.ป.ช.) รายงานต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ได้รับทราบการสรุปผลการพิจารณาในภาพรวมต่อมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT
เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยปัจจุบันประเทศไทยกำหนดให้เก็บในอัตรา 7% ของราคาขายสินค้าหรือบริการ
ทำไมต้องเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ประชาชนต้องจ่ายไปในทุกๆ การซื้อสินค้าและบริการนั้น จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ได้แก่ นำไปเป็นงบประมาณในการบริหารราชการแผ่นดิน, นำไปบริหารจัดการ ในรูปแบบสวัสดิการต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน (อิงตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี)
1. งบการศึกษา
2. งบสวัสดิการผู้สูงอายุ
3. งบด้านความมั่นคง
4. งบการขนส่ง
5. งบสาธารณสุขอื่น (ซึ่งรวมถึงบัตรทอง)
6. งบโรงพยาบาล
7. งบตำรวจ
8. งบในลักษณะงานอื่นๆ
มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
1. การเชื่อมโยงข้อมูลและระบบแจ้งเบาะแส
• การเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบดิจิทัลระหว่างหน่วยงานจัดเก็บภาษี หน่วยงานที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก และหน่วยงานด้านการจดทะเบียนพาณิชย์ เป็นนิติบุคคล
• มีระบบการแจ้งเบาะแสที่มีประสิทธิภาพและมีสินบน นำจับในกรณีมีผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตเกี่ยวกับภาษี
2. กำหนดมาตรการให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องจัดทำใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์และรายงานภาษีซื้อ - ภาษีขายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพิ่มกลไกการตรวจสอบ ถ่วงดุล สอบยันในหน่วยจัดเก็บภาษี โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีอธิบดีกรมสรรพากร เป็นประธาน
4. กรณีข้อมูลการส่งออกไม่เพียงพอต่อการพิจารณาการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรมสรรพากรส่งเรื่องให้กรมศุลกากรตรวจสอบเพิ่มเติมก่อนจึงจะนำมาใช้ อ้างอิง รวมถึงตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านภาษีหรือการจดทะเบียนเป็น นิติบุคคลของต่างประเทศว่าผู้นำเข้ามีการประกอบการจริงหรือไม่
5. เพิ่มกลไกการตรวจสอบเพิ่มเติมจากมาตรฐานที่มีอยู่เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการตรวจสอบผู้ส่งออกที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการทุจริตในการขอคืน ภาษีมูลค่าเพิ่ม
6. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตรวจสอบเกี่ยวกับผู้รับผลประโยชน์ ที่แท้จริงเพื่อให้สามารถป้องกันและทราบถึงกรณีตัวแทนการจดทะเบียนบังหน้า
#ครม #ภาษีมูลค่าเพิ่ม #อนุมัติ #VAT
ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
ข่าว : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


image วิดีโอ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
แสดงความคิดเห็น
image
ความคิดเห็น